วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ.2561


    วันนี้อ.เบียร์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการ แจกอุปกรณ์การเรียนที่ได้มาจากค่าวัสดุของวิชานะคะ ก็จะมี
💗สีเทียน 1 กล่อง 
💗สีช็อกเทียน 1 กล่อง 
💗ไม้บรรทัดพลาสติกแข็ง 1 อัน 
💗เมจิกสองหัวสีดำ 1 แท่ง 
💗เมจิกสองหัวสีชมพู 1 แท่ง



   ระหว่างที่รอเพื่อนๆบางคนลงไปเอากล่องสีเทียนส่วนกลาง เพื่อมาทำกิจกรรมนั้น อ.เบียร์ก็ให้นักศึกษาทบทวนการเต้นประกอบเพลงปฐมวัยที่ได้เรียนมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ต้องสนุกขึ้นไปอีกสิค่ะ ถ้ามีการแข่งขันกัน ก็คือ.... ให้นักศึกษาที่ทำท่าประกอบเพลงไข่พะโล้และอึ่งอ่าง ได้ถูกต้องไม่ผิดเลยแม้แต่นิดเดียวจะได้รับปั๊มความดีกันไปคนละ 1 ปั๊มเลยทีเดียววว 😱😱 คนอย่างน้ำเพชรคิดว่าจะไปกับเพื่อนไหม ไปสิจ้ะรออะไรหล่ะ และนี่คือหลักฐานว่าหนูเป็นคนที่เป๊ะกับการทำท่าประกอบ 2 เพลงนี้มากๆค่ะ


    สีเทียนมาแล้วว อ.เบียร์ก็จัดการแจกกระดาษรียูสให้นักศึกษาคนละแผ่น หลังจากนั้นก็ให้วาดสิ่งที่ตัวเองรักที่สุดมาคนละ 1 อย่าง แต่ใครจะวาดมากกว่านั้นก็ไม่ว่ากัน แต่ต้องใช้เพียงสีเทียนเท่านั้นในการวาดและระบายสี ให้เหมือนกับน้องๆปฐมวัยเวลาวาดภาพระบายสี

  
    นี่คือผลงานของหนูเองค่ะ หลังจากนั้นก็แลกผลงานกับเพื่อน เพื่อสลับกันเป็นคุณครูและเป็นเด็กๆ โดยคุณครูจะต้องเขียนสิ่งที่เด็กอธิบายออกมาทั้งหมด โดยใช้การเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมเท่านั้น


    สุดท้ายของกิจกรรมนี้ อ.เบียร์ให้นักศึกษาทุกคนมานั่งเป็นครึ่งวงกลมกัน จำลองสถานการณ์เป็นห้องเรียนของเด็กปฐมวัย เวลาที่ทำผลงานเสร็จแล้ว ให้เรียกเด็กออกมาผลงานละ 3-4 คน โดยพอเด็กออกมาแล้วให้ฝึกเด็กในการเล่าเรื่องของตัวเองผ่านผลงานที่ทำ มีตัวอย่างของเพื่อนที่ได้ออกมาเป็นเด็กให้อ.เบียร์เป็นคุณครูนะคะ



ผลงานของนศ.ชั้นปีที่ 2
  
    ทำกิจกรรมกันไปแล้วก็เข้าสู่เนื้อหากันบ้าง วันนี้จะเรียนเรื่องอะไรไปดูกันค่ะ

แนวทางการจัดประสบการณ์
ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
💗 เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
💗 นำไปสู่การกำหนดการบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

    การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะภาษา ( Skill Approch )
💗 ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
💗 การประสมคำ
💗 ความหมายของคำ
💗 นำคำมาประกอบเป็นประโยค
💗 การแจกลูกสะกดคำ การเขียน

    การสอนแบบอ่านแจกลูก ( Phonic ) คือ วิธีการสอนให้เด็กๆรู้จักผสมเสียงตัวอักษรที่นำมารวมกัน เช่น
💗 การประสมคำ
💗 พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
*** ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาและลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ***

    ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
💗 สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
💗 ช่างสงสัย ช่างซักถาม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Kenneth Goodman💗 มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
💗 ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
💗 เลียนแบบคนรอบข้าง

    การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language )
โดยนักทฤษฎีที่มีชื่อว่า Kenneth Goodman
💗 เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
💗 มีความเชื่อมดยงระหว่างภาษากับความคิด
💗 แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

    ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
💗 เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
💗 เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
💗 อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

    การสอนภาษาธรรมชาติ
💗 สอนแบบบูรณาการ / องค์รวม
💗 สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
💗 สอนสิ่งใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตประจำวัน
💗 สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
💗 ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
💗 ไม่บังคับให้เด็กเขียน

    หลักการของการสอนภาษาธรรมชาติ นฤมน เนียนหอม ( 2540 )
1. การจัดสภาพแวดล้อม
💗 ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
💗 หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความสมบูรณ์ในตัว
💗 เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
💗 เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
💗 เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
💗 เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
💗 ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
💗 ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรียนสนุก
4. การตั้งความคาดหวัง
💗 ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
💗 เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้อง
5. การคาดคะเน
💗 เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
💗 เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
💗 ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
💗 ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
💗 ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
💗 ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
💗 เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
💗 เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
💗 ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป้้นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
💗 ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
💗 ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
💗 ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่ขอความช่วยเหลือ
💗 ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
💗 เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ

    บทบาทครู ( นิรมล ช่างวัฒนชัย, 2541 )
💗 ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
💗 ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน เขียน
💗 ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
💗 ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
ผู้อำนวยความสะดวก
ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ ไปพร้อมๆกับเด็ก


    จบไปแล้วนะคะสำหรับเนื้อหาในการเรียนวันนี้ ต่อไปจะเป็นกิจกรรมอีกแล้วค่ะ แต่ในครั้งนี้อ.เบียร์จะให้นักศึกษาทำ สื่อคำคล้องจองแบบนี้นะคะ


    ส่วนนี่คือผลงานคำคล้องจองของกลุ่มหนู กลุ่ม" อร่อยเลิศ " มาในหัวข้อ " อาหารจากข้าว"ที่ยังคงตกแต่งไม่เสร็จสักเท่าไหร่ ไปชมกันเลยค่ะ....



💗ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียยน💗





ประเมินอาจารย์ : อ.เบียร์หากิจกรรมและเทคนิคการสอนดีๆ สนุกมาก ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่น่าเบื่อเลยค่ะ♥

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งอกตั้งใจเรียนกันดี๊ดี เพราะ ชอบทำกิจกรรมของอ.เบียร์ และได้แกล้งเพื่อนด้วย 55555

ประเมินตัวเอง : ชอบเรียนคาบนี้มากค่ะ เพราะ ตัวหนูเองเป็นคนชอบทำสื่อ หรือคิดอะไรอยู่แล้ว ทำให้คาบเรียนวันนี้สนุกมากๆค่ะ


ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ

✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 

จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2561     การเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของ วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ก็ได้เดินทางมาถึง กา...